บิ๊กแบง – วิธีการทำงานของจักรวาล บทที่ 1



บิ๊กแบง – วิธีการทำงานของจักรวาล บทที่ 1

บิ๊กแบง - วิธีการทำงานของจักรวาล บทที่ 1

จักรวาลของเราประกอบไปด้วยสสารและพลังงาน อันเกิดจากการระเบิดครั้งใหญ่ในอดีตเมื่อราว 13,800 ล้านปีที่แล้ว ตราบมาจนถึงปัจจุบันภายในจักรวาลแห่งนี้ก็ประกอบไปด้วย กาแล็คซี่ (galaxies) น้อยใหญ่ต่างๆรวมกันกว่า 2 ล้านล้าน แห่ง โดยในแต่ละแห่งก็จะประกอบไปด้วยดาวฤกษ์เป็นจำนวนไม่น้อยกว่าแสนล้านดวง (อ้างอิงจากจำนวนดาวฤกษ์โดยประมาณที่อยู่ภายในกาแล็คซี่ทางช้างเผือกของเรา) นี้ก็เท่ากับว่าความยิ่งใหญ่ของจักรวาลเรา มันกว้างใหญ่เสียซะจนสุดเหลือคณานับได้ แต่ทว่าเชื่อหรือไม่ หากย้อนกลับไปราว 14,000 ล้านปีก่อนจักรวาลของเรายังคงเป็นแค่จุดเล็กๆยิ่งกว่าอะตอม ที่มีความหนาแน่นและความร้อนสูงจนไม่อาจประเมินค่าได้ ก่อนที่มันจะถูกทำให้ระเบิดออกแบบทันทีทันใด จนก็ให้เกิดทุกสรรพสิ่งในจักรวาล ทั้งอวกาศ, สสาร, พลังงาน และ เวลา!

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


การระเบิดครั้งแรก
โลกของเรา ภูเขา ป่าไม้ น้ำทุกๆหยดที่รวมตัวกันจนเป็นมหาสมุทรอันกว้างใหญ่, อาคารบ้านเรือนในเมืองใหญ่ๆ หรือแม้แต่สิ่งประดิษฐ์อำนวยความสะดวกต่างๆของมนุษย์ ทุกสรรพสิ่งบนโลกใบนี้ล้วนเกิดขึ้นมาจากผลพวงของการระเบิดของจุดพลังงาน ณ ช่วงแรก เช่นเดียวกันกับ ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ทุกดวง ดาวฤกษ์ทุกดวง และดาราจักรอีกจำนวนกว่าล้านๆแห่งที่กระจายตัวกันออกไปทั่วจักรวาล! ถ้าสิ่งที่เล่ามาดูจะไกลตัวเกินไป ก็ลองย้อนพิจารณามาดูน้ำเปล่าที่เราดื่มกัน หากจะว่าไปแล้วน้ำนั้นก็คือของโบราณ เพราะองค์ประกอบของสสารอย่างอะตอมของไฮโดรเจนในน้ำเอง ก็ถือกำเนิดขึ้นมานาน นับตั้งแต่ในช่วงยุคเริ่มแรกของจักรวาล หรือราวหมื่นล้านปีที่แล้ว! และหลังจากนั้นทุกๆสสารอันก่อร่างสร้างทุกสรรพสิ่งอย่างที่เราได้ประจักษ์กันในปัจจุบัน ก็ได้ถือกำเนิดขึ้น หรือในอีกแง่หนึ่งก็คือ บิ๊กแบง (Big bang) คือเหตุการณ์ที่กำหนดความเป็นอยู่จักรวาล ทั้งปัจจุบันและอนาคตของเรา ทำให่้ไม่ว่าจะผ่านมาสักกี่ยุคกี่สมัยก็ตาม ความลับแห่งการก่อกำเนิด มันก็ยังคงมีมนต์ขลังและไม่เคยเลยที่จะลดละให้แก่ความอยากรู้ของมนุษย์ เพื่อไขความลับของบิ๊กแบง (Big bang) เราต้องมองให้ไกลออกไปจากระบบสุริยะแล้วมองลึกเข้าไปยังใจกลางของจักรวาล ซึ่งการทำเช่นนี้จะช่วยให้เราสามารถเข้าใกล้ช่วงเวลาเริ่มแรกของห้วงเวลาได้ นั่นก็หมายความว่ายิ่งเรามองออกไปไกลเท่าไหร่เรายิ่งเห็นอดีตได้มากขึ้น หรือเข้าใกล้จุดเริ่มต้นของอวกาศและเวลา โดยสิ่งที่เราจะได้เห็นก๋็คือ กาแล็คซี่รุ่นแรก และ ดาวฤกษ์รุ่นแรกๆ ที่เพิ่งจะได้เปล่งแสงประกายออกมาจากความมืดมิด
จอกศักดิ์สิทธิ์ของนักฟิสิกส์ดาราศาสตร์
สิ่งหนึ่งที่แทบจะเรียกได้ว่าเป็นจอกศักดิ์สิทธิ์ของนักฟิสิกส์เลยก็ว่าได้นั่นก็คือ ความอยากรู้ที่ว่า ทำไมจักรวาลจึงจะต้องเกิดขึ้นมา, ทำไมมันจึงอยู่ที่นั่น, ทำไมมันจึงระเบิด และก่อนจะเกิดการระเบิดมันมีอะไรอยู่บริเวณนั้น ด้วยแรงบัลดาลใจจากปริศนาของจักรวาลนี้เอง จึงกลายมาเป็นที่มาของการสร้างเครื่องชนอนุภาคขนาดยักษ์ที่ชื่อว่า เครื่องชนอนุภาคแฮดรอน (The Large Hadron Collider หรือ CERN) ขึ้นมา เพื่อจำลองสภาพต่างๆขณะที่จักรวาลได้ถือกำเนิดขึ้น (และล่าสุดเมื่อวันที่ 15 มกราคม ปี ค.ศ. 2019 CERN ก็ได้ประกาศ Concept Design แรกของ FCC หรือ Future Circular Colliderเครื่องเร่งอนุภาคตัวใหม่ที่จะมาทำหน้าที่แทน LHC โดยเครื่องเร่งอนุภาคใหม่จะใหญ่โตและทรงพลังกว่าเดิมถึง10 เท่าเลยทีเดียว) ไม่พอเรายังมีกล้องโทรทรรศน์อวกาศต่างๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อสอดส่องไปยังปลายขอบของจักรวาลอีก และเมื่อเทคโนโลยีทั้งสองรวมถึงทฤษฎีฟิสิกส์หลักๆอย่างทฤษฎีสัมพัทธภาพและทฤษฎีควอนตัมได้ถูกนำมาบรรยายเข้าไว้ด้วยกัน ก็ทำให้เราได้เรียนรู้จักจักรวาลของเรามากยิ่งขึ้นกว่าเดิมในตลอด 100 ปีที่ผ่านมาแบบก้าวกระโดด จนถึงขั้นที่นักฟิสิกส์ดังผู้ที่ล่วงลับไปเมื่อปีต้นปี ค.ศ. 2018 อย่าง สตีเฟน ฮอว์กิง (Stephen Hawking) ยังถึงขั้นออกมากล่าวว่า “เรากำลังเข้าใกล้คำตอบสำหรับคำถามยุคเก่าๆ ว่า ทำไมเราจึงอยู่ตรงนี้ เรามาจากที่ไหน จักรวาลจริงๆมีจุดเริ่มต้นหรือจุดจบไหม และถ้ามี พวกมันจะมีหน้าตาอย่างไร ถ้าเราพบคำตอบนั้นแล้ว มันคงจะเป็นชัยชนะขั้นสูงสุดของเหตุผลของมนุษย์ และเราน่าจะรู้ได้ถึงความคิดของพระเจ้า!”

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พหุภพ (Multiverse of Universes)



พหุภพ (Multiverse of Universes)
แหล่งกำเนิดของบิ๊กแบง (Big bang) คือที่สุดของความลึกลับตลอดกาล ถึงแม้ปัจจุบันเราจะมีข้อมูลของจักรวาลอยู่มากมายเมื่อเทียบกับอดีต แต่ผลก็ปรากฏว่ายิ่งเราเรียนรู้จักรวาลมากขึ้นเท่าไหร่ ความลึกลับกลับยิ่งล้ำลึก โดยคำว่าจักรวาล ในอีกคำที่เรามักคุ้นหูกันดีก็คือ เอกภพ โดยทั่วไปแล้วเรามักคิดว่านี้คือผลรวมของพลังงานและสสารเพียงแห่งเดียว แต่หลังจากการศึกษาเรื่องการขยายตัวแบบยกกำลังใน ทฤษฎีอินเฟลชันของ อลัน กูธ (Alan Guth) ซึ่งเป็นบิดาในเรื่องของการศึกษาจักรวาลขยายตัวดังกล่าว เราก็พบว่า มันมีความเป็นไปได้สูงที่จักรวาลนี้ อาจไม่ใช่จักรวาลเพียงแห่งเดียว แต่ผลปรากฎคือ จักรวาลอาจมีอยู่เป็นจำนวนอนันต์! ในชื่อเรียกของพหุภพ นั่นก็หมายความว่าบิ๊กแบงเองก็สามารถเกิดขึ้นได้อยู่ตลอดเวลาทุกๆวินาที แต่ถึงอย่างไรก็ตามยังไงเราก็สามารถมั่นใจได้ว่ามีจักรวาลของเราเกิดขึ้นมาแล้วอย่างแน่นอน และดูเหมือนเราจะยังไม่ค่อยรู้อะไรมากเกี่ยวกับมันเสียด้วย ถึงแม้มนุษย์ดูเหมือนว่าจะเริ่มเข้าใจมากแล้วก๋็ตาม ซึ่งนั่นก็คิดเป็นเพียง 4% ของจักรวาลอันกว้างใหญ่แห่งนี้เท่านั้น (อีก 96% คือสสารมืด และพลังงานมืด และอื่นๆ)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพของจักรวาล


ภาพของจักรวาล
ตั้งแต่ปลายยุคคริสต์ศักราชที่ 1920 เป็นต้นมาก็เป็นช่วงที่มนุษย์ได้เกิดความรู้ความเขาใจถึงจักรวาลของเราแบบก้าวกระโดด ซึ่งก่อนหน้านั้นเราเชื่อเพียงแค่ว่าจักรวาลขประกอบไปด้วยดาวฤกษ์ต่างๆที่อยู่แต่ภายในกาแล็กซี่ทางช้างเผือกเท่านั้น และพวกมันก็ดูเหมือนจะไม่มีจุดเริ่มต้นหรือจุดจบใดๆเลยด้วยซ้ำ แต่จุดผลิกผันของความรู้ความเข้าใจต่อจักรวาลใหม่ของเราก็เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1929 ณ หอสังเกตการณ์ เมาท์ วิลสัน (Mount Wilson Observatory) เหนือลอสแอนเจลิส เอ็ดวิน ฮับเบิล นักดาราศาสตร์ค้นพบว่า ยังมีกาแล็กซี่น้อยใหญ่อื่นๆอีกมากมายที่ไม่ใช่มีเพียงแต่ทางช้างเผือกของเรา และที่น่าตกใจไปยิ่งกว่านั้นก็คือเขาค้นพบว่า กาแล็กซี่ในแต่ละแห่งกำลังเครื่องที่หนีจากกันเป็นเท่าตัวตามระยะทางที่เคลื่อนห่าง! และนี้ก็คือหลักฐานแรกของการยืนยันว่าได้เคยเกิดบิ๊กแบง (Big Bang) ขึ้นจริงๆ โดยผลจากการตรวจวัดค่าที่ได้จากปรากฏการณ์เรดชีพ (Redshift increases) ก็พบว่าทุกๆครั้งที่กาแล็กซี่เคลื่อนหนีจากกัน 2 เท่า อัตราเร่งการหนีห่างก็จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ครั้งที่พวกมันเคลื่อนที่หนีห่างกันไปอีกเป็นระยะทาง 3 เท่า อัตราเร่งก็จะเพิ่มขึ้นไปอีกเป็น 3 เท่าด้วยเช่นกัน นี้ก็หมายความว่าทุกสิ่งในจักรวาลกำลังเคลื่อนหนีห่างไปจากเราแบบเหลือเชื่อ! ซึ่งขัดกับแนวคิดในก่อนหน้านี้ว่า จักรวาลนั้นสถิตและนิรันดร์ ซึ่งแม้แต่ไอน์สไตน์ ณ ตอนนั้นเอง เขาก็ยังปวดหัว และแทบไม่อยากเชื่อกับผลของการดำเนินไป ของจักรวาลที่ไม่สถิตเสถียรเช่นนี้! และในเวลาต่อมาก็เป็นที่รู้จักกันในชื่อกฎของฮับเบิล หรือในอีกชื่อหนึ่งคือกฎ ฮับเบิล-เลอแม็ทร์ (Hubble–Lemaître law) (ที่ถูกเสนอให้แก้ไขชื่อกฎจักรวาลใหม่โดย กลุ่มสหภาพนักดาราศาสตร์สากล เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2018 เพื่อเป็นเกียรติให้กับฌอร์ฌ เลอแม็ทร์ ศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์และดาราศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยคาทอลิกเลอเฟิน ที่ค้นพบว่าจักรวาลขยายตัวจริงๆ เมื่อปี ค.ศ. 1927 ก่อนฮับเบิลถึง 2 ปี ซึ่งขณะนั้นบทความวิชาการของเลอแม็ทร์อยู่คงรู้จักกันแต่ในวงแคบเฉพาะภาษาฝรั่งเสษเท่านั้น ก่อนจะถูกแปลและเผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษในปี ค.ศ. 1931 หรือ 2 ปีให้หลังของการค้นพบจักรวาลขยายตัวโดย ฮับเบิล)
การเริ่มต้นจากจุดเดียว
ตามทฤษฎีแล้วการที่กาแล็กซี่เคลื่อนที่หนีห่างไปจากกัน นั่นก็เป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่บ่งบอกได้ว่าจักรวาลกำลังขยายออก และด้วยการคำนวณย้อนกลับจากภาพการแผ่รังสีพื้นหลังของจักรวาล (Cosmic microwave background) และรวมเข้าด้วยกันกับค่าการขยายตัวย้อนกลับล่าสุด ก็สามารถทำให้นักวิทยาศาสตร์ไขความลับของอายุจักรวาลได้ และพบว่าแท้จริงแล้วจุดเริ่มต้นทุกสรรพสิ่งในจักรวาลนี้ก็คือการระเบิดออกของจุดพลังงานขนาดเล็ก ที่มันมีทั้งความหนาแน่นและความร้อนเป็นค่าอนันต์ เมื่อราว 13,800 ล้านปีก่อน (บางแหล่งข้อมูลอาจให้อายุไว้ที่ 13,700 ล้านปี แต่ผมไปดูจากข้อมูลล่าสุดมัน อยู่ระหว่าง 13,813 ถึง 13,799 ล้านปี ผมเลยเลือกที่จะหยิบตัวเลข 13,800 แทนนับจากนี้ไป)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพจากอดีตจักรวาล


ภาพจากอดีต
นับตั่งแต่ โอเล่ คริสเตียนเซน โรเมอร์ (Ole Christensen Rømer) นักวิทยาศาสตร์ดังชาวเดนมาร์กในยุคคราวเดียวกับเซอร์ไอแซก นิวตัน (Isaac Newton) ค้นพบว่าแสงเองก็ต้องใช้เวลาในการเดินทางในอวกาศด้วยเช่นกัน และในปี ค.ศ. 1676 เขาก็สามารถทำการคำนวณค่าความเร็วแสงเป็นคนแรกของโลกได้สำเร็จ จากการสังเกตการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์บริวารของดาวพฤหัสบดีที่ชื่อ ไอโอ (ถึงแม้ค่าที่ได้จะคลาดเคลื่อนน้อยกว่าความเป็นจริง อยู่ราวร้อยละ 26 ก็ตาม แต่นั้นก็เพียงพอแล้วที่เขาจะได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลแรกอันทรงเกียรตินี้) และจากจุดเริ่มต้นของการค้นพบดังกล่าวก็ได้เปลี่ยนความเชื่อในเรื่องเวลาที่เดินอย่างเท่าเทียมกันจากภาพอวกาศไปอย่างสิ้นเชิง และพบว่าภาพดวงดาวต่างๆบนท้องฟ้าที่เราเห็นนั้นก็คือภาพจากอดีต ที่แสงจากดาวนั้นเพิ่งจะเดินทางมาถึงเรา จนในเวลาต่อมาหน่ายวัดระยะทางในอวกาศก็ได้ถูกตั้งให้ใช้เป็นหน่วยของปีแสง เนื่องจากระยะทางในอวกาศของแต่ละที่มันไกลเกินกว่าหน่ายเมตร หรือ กิโลเมตรจะสามารถพรรณนาถึงตัวเลขอันมหาศาลของมันได้ โดย 1 ปีแสงก็คือ ระยะเวลาที่แสงใช้เวลาในการเดินทางในสูญญากาศ 1 ปี หรือประมาณ 9.46 ล้านล้านกิโลเมตร (9,460,730,472,580.8 กิโลเมตร) ยกตัวอย่างเช่นดาวเวก้า (Vega) ซึ่งอยู่ห่างไกลจากโลกราว 25 ปีแสง นั่นก็มีความหมายในอีกมุมหนึ่งว่า ภาพของดาวเวก้าที่เราเห็นบนฟ้านั้นก็คือภาพของอดีตเมื่อราว 25 ปีก่อน!
และด้วยเหตุผลเดียวกันนี้ในเรื่องของภาพจากอดีต นี้จึงทำให้ท้องฟ้าของโลกจึงเสมือนเป็นกับเครื่องท่องการเวลา หรือ “ไทม์แมชชีน” (Time machine) ที่จะสามารถพาเราไปมองย้อนกลับยังอดีตได้อย่างอิสระ เช่น ยิ่งเรามองลึงลงไปในห้วงอวกาศได้ลึกเท่าไหร่ นั่นก็หมายความว่าเรากำลังมองดูจักรวาลของเราขณะที่มันมีอายุน้อยลงไปเท่านั้น และถ้าหากเรามองได้ลึกมากพอ เราก็จะได้เห็นดวงไฟยุคแรกของดาวฤกษ์ และ กาแล็กซี่ได้
สรุป
จักรวาลของเรายังมีอะไรน่าพิศวงอีกมามายที่ยังรอคอยให้มนุษย์ได้ค้นพบมัน และจากประวัติศาสตร์ของการศึกษาจักรวาลก็พบว่า ยิ่งเรารู้มากขึ้นเท่าไหร่ ปริศนาต่างๆก็จะผุดขึ้นมาอีกเป็นเท่าตัว เช่นสสารมืดคืออะไร พลังงานมืดคืออะไร เป็นต้น ดังนั้นการศึกษาจักรวาลในตอนจบหากเราไปถึงคำตอบที่ว่า ทำไมจักรวาลจึงถือกำเนิดขึ้น จักรวาลกำเนิดมาได้อย่างไร ทำไมเราต้องมาอยู่ที่นี้ เราก็อาจจะต้องพบกับปริศนาต่างๆมากมายตามมาอีก เช่น มีอะไรเกิดขึ้นหรืออยู่ระหว่างนั้นก่อนจะเกิดบิ๊กแบง และยังมีจักรวาลอื่นๆที่เหมือนกันกับจักรวาลแห่งนี้อีกไหม!

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น